กรมชลประทาน จัดเวทีฟังความเห็น เดินหน้าศึกษาประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน หวังเป็นเครื่องมือแก้ภัยแล้ง-น้ำท่วมลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน

กรมชลประทาน จัดเวทีฟังความเห็น เดินหน้าศึกษาประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน หวังเป็นเครื่องมือแก้ภัยแล้ง-น้ำท่วมลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน

วันนี้ (5 กันยายน 2566) เวลา 09.30 น. ณ ห้องราชาวดี โรงแรมเดอะแกรนด์ ริเวอร์ไซด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน จังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงสุด โดยหวังเป็นเครื่องมือแก้ภัยแล้ง-น้ำท่วมลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย นายพรมงคล ชิดชอบ ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 นายมหิทธิ์ วงศ์ษา ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม นายนิพนธ์ สนั่นเรืองศักดิ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก คณะกรรมการลุ่มน้ำน่าน คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดน่าน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา สภาเกษตรกร กลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ สื่อมวลชน และประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุม

สืบเนื่องจากในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การอุปโภค-บริโภค อยู่เป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ประกอบกับปัจจุบันเกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อีกทั้งแม่น้ำน่านในเขตจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ มีสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยในการพัฒนาเป็นอาคารบังคับน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำได้

โดยในปี 2566 - 2567 กรมชลประทาน ได้มอบหมายให้บริษัท วี เอส พี เอส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท อินโนเวชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินงานโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงเป็นการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและกิจกรรม การใช้น้ำอื่นๆ ในเขตจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์

สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจามแผนของหน่วยงานราชการในอนาคต ซึ่งเป็นแผนงานพัฒนาในระยะกลาง (ปี2566-2570) ประกอบด้วยโครงการขนาดใหญ่ 5 โครงการ โครงการขนาดกลาง 21 แห่ง โครงการนาดเล็ก 111 แห่ง โดยมีความจุรวม 456.99 ล้านลูกบาสก์เมตร พื้นที่ชลประทานรวม 736,849 ไร่

ซึ่งมีขอบเขตการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาแผนหลักการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment) การศึกษาด้านเศรษฐกิจ-สังคม การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน มีระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 300 วัน (ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. 66-22 มิ.ย. 67)

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค การปศุสัตว์ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การเกษตรช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกทั้งในฤดูแล้ง ฤดูฝนและฝนทิ้งช่วง ช่วยควบคุมปริมาณน้ำในลำน้ำน่านโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งเมื่อปริมาณน้ำต้นทุนมีค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังสามารถสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและส่งเสริมการท่องเที่ยว ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ในเขตพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียงให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคต

#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar