สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลกขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม "นำชาติมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"

 “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)” 

          อันเป็นแผนแม่บทระดับชาติเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินงาน โดยนำกลไกประชารัฐมาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ส่งเสริมและพัฒนาคนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรม เกิดเป็นสังคมคุณธรรมอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติจึงได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ให้มีกระบวนการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลในระดับนโยบายขึ้น ๓ ด้าน ได้แก่

(๑) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)

(๒) คณะอนุกรรมการด้านวิชาการการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย 

(๓) คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์การส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย และในระดับปฏิบัติการ ๒ คณะ ได้แก่ (๑) คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง โดยมีปลัดกระทรวงเป็นประธานอนุกรรมการ และ (๒) คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ ให้ทุกกระทรวง จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ


          ซึ่งต่อมาภายหลังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร เป็นคณะอนุกรรมการในระดับปฏิบัติการเพิ่มเติมอีกคณะหนึ่ง โดยมีปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมตามแผนแม่บทฯ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนนำนโยบายในการรณรงค์ขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละหน่วยงานไว้ดังนี้ 
พอเพียง หมายถึง ความพอเพียงในการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง มีเหตุผล ใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความพอประมาณ พอดี ไม่เบียดเบียนตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ประมาท สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

วินัย หมายถึง การยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้า วินัยต่อองค์กรและสังคม ปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมาย

สุจริต หมายถึง ความซื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหยัดในการรักษาความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งปวง กล้าปฏิเสธในการกรทำที่ไม่ซื่อตรง ไม่ซื่อสัตย์ของบุคคลอื่น ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

จิตอาสา หมายถึง การเป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะและอาสาลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่ง อันมิใช่หน้าที่ของตน ด้วยความรักความสามัคคี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ของสังคม และของประเทศชาติ โดยมิได้หวังผลตอบแทน ทำความดีเพื่อความดี เอื้ออาทรต่อคนร่วมสังคม ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย 

            เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมคุณธรรม คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ จึงได้กำหนดลักษณะคุณธรรมเป้าหมายที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยในช่วงต้นของการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ โดยน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นคุณธรรมรากฐานสำคัญ ๕ ประการ ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ได้อย่างครบถ้วน คือ ซื่อตรง วินัย รับผิดชอบ พอเพียง และจิตอาสา โดยนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เลือกใช้คำที่สร้างความคุ้นเคยและสามารถจดจำได้ง่าย จึงสรุปได้เป็นคุณธรรม ๔ ประการ คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” ซึ่งเป็นคุณธรรมเป้าหมายที่จะปลูกฝังให้คนไทยตระหนักและประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 

/cms/s136/u117/News/10.jpg

#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก
#PRD4 

 


image รูปภาพ
ประกาศนียบัตร

ไฟล์เอกสารประกอบ
คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาต |

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar