สรุปย่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัย "ใครเบิกค่าจัดการศพแทนบุตร"

เรื่องนี้มารดาของผู้อุทธรณ์เสียชีวิต แต่ผู้อุทธรณ์ซึ่งเป็นบุตรกลับเบิกค่าจัดการศพของมารดาไม่ได้ เพราะอะไร หน่วยงานจ่ายให้ใคร ทำไมไม่จ่ายให้บุตร

        นายข้องใจ เป็นบุตรของนาง ก ซึ่งเป็นข้าราชการหน่วยงานแห่งหนึ่ง เมื่อนาง ก เสียชีวิต นายข้องใจ จึงยื่นขอค่าจัดการศพของมารดา แต่ปรากฏว่า หน่วยงานได้จ่ายค่าจัดการศพให้กับนาง ข ในฐานะทายาทผู้รับเงิน สงเคราะห์ค่าจัดการศพไปแล้ว นายข้องใจจึงมีหนังสือถึงหน่วยงาน ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกสารการขอรับเงิน ค่าจัดการศพของมารดา หน่วยงานแจ้งปฏิเสธการเปิดเผยโดยให้เหตุผลว่า หน่วยงานได้จ่ายค่าจัดการศพให้กับนาง ข ในฐานะทายาทผู้รับเงินสงเคราะห์ค่าจัดการศพโดยถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนาง ก ผู้เสียชีวิต ทุกประการ และเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไม่สามารถเปิดเผยให้นายข้องใจทราบได้ นายข้องใจจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

        คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า เอกสารขอรับเงินค่าจัดการศพมี จำนวน ๗ รายการคือ ใบคำร้องขอจัดการศพ สำเนาใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้เสียชีวิต) หนังสือรับรอง จัดการศพ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้รับเงิน) สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้รับเงิน) และสำเนาบัญชีธนาคาร เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หน่วยงานได้จ่ายให้กับนาง ข ทายาทผู้รับเงินสงเคราะห์ค่าจัดการศพ ตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยฌาปนกิจสงเคราะห์ พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นไปโดยถูกต้องแล้ว แม้ข้อมูลบางส่วนจะเป็นข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลของผู้เสียชีวิตและผู้รับเงิน แต่ผู้อุทธรณ์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเป็นบุตรผู้เสียชีวิต และต้องการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงในการจ่ายเงินค่าจัดการศพว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เสียชีวิตและถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลอื่นได้ ไม่เป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่ สมควร ตามมาตรา ๑๕ (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การเปิดเผยจะแสดงให้เห็น ถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ว่าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย หรือไม่ จึงวินิจฉัยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอแก่ผู้อุทธรณ์

        เรื่องนี้น่าสนใจมากครับ แม้ข้อมูลที่ขอจะเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล แต่ถ้าผู้ขอมีเหตุผลความจำเป็น เพียงพอก็สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลอื่นได้ มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th

(ที่ สค ๓๙๐/๒๕๖๓) นายวรรธนพงศ์ คำดี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

“ข้อมูลโปร่งใส ราชการไทยไร้ทุจริต”


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar