สรุปย่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัย "ที่ดินมรดกกลายเป็นของคนอื่น"

ผู้โชคร้ายรายหนึ่งรับสิทธิครอบครองที่ดินเป็นมรดกตกทอดจากปู่มาสู่พ่อ มาสู่ตัวเอง แต่ที่ดินแปลง ดังกล่าวออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อคนอื่นไปแล้ว จะทำยังไงดี

        นายอับโชค เป็นบุตรของนาย ก เป็นหลานของนาย ข และเป็นผู้จัดการมรดกของนาย ก และนาย ข ตามค าสั่งศาล จึงมีการติดตามทรัพย์มรดกของบิดา ได้มีหนังสือถึงหน่วยงาน A ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทะเบียน การครอบครองที่ดิน ส.ค.๑ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็น ส.ค.๑ แปลงใด เลขที่เท่าใด แต่แจ้งที่ตั้งของที่ดินไว้ปัจจุบันที่ดิน แปลงดังกล่าวได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๗๘๘๓๔ ซึ่งทับซ้อนกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) ของนาย ข ซึ่งนาย ก เป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงขอข้อมูลข่าวสารทะเบียนการครอบครองที่ดินเพื่อนำไปประกอบการ ดำเนินคดีในศาล หน่วยงาน A ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอโดยให้เหตุผลว่า นายอับโชคไม่สามารถ ระบุรายละเอียดได้ชัดเจนว่าเป็น ส.ค.๑ แปลงใด อ้างแต่เพียงที่ตั้งของที่ดิน จึงไม่สามารถดำเนินการให้ได้ ตามนัย ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยหลักฐานทะเบียนที่ดิน การขอคัด ขอถ่ายสำเนาเอกสารและการตรวจสอบหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๕๖ (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐) ข้อ ๕ ข้อ ๗ และข้อ ๘ ประกอบกับผู้ขอกล่าวอ้างว่าที่ดิน แปลงดังกล่าวมีการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนกับที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) ซึ่งมีข้อพิพาทการโต้แย้ง สิทธิในที่ดินและผู้ขอได้ใช้สิทธิทางศาลแล้ว จึงอาจเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร ตามมาตรา ๑๕ แห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นายอับโชคจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร

        คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ วินิจฉัยสรุปว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทะเบียนการ ครอบครองที่ดิน เป็นข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรับรองให้แก่ประชาชนผู้ครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว จึงเป็นเอกสารราชการที่เป็นเอกสารมหาชน ซึ่งบุคคลทั่วไปย่อมสามารถตรวจสอบได้ ว่าบุคคลใดเป็นผู้แจ้งการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ในขณะเดียวกันผู้อุทธรณ์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ในฐานะเครือญาติและเป็นผู้จัดการมรดกของนาย ก แม้ผู้อุทธรณ์ไม่สามารถระบุรายละเอียดได้ชัดเจนว่าเป็น ส.ค.๑ แปลงใด เลขที่เท่าใด แต่ได้แจ้งระบุที่ตั้งของที่ดิน ซึ่งกรมที่ดินอยู่ในวิสัยที่จะสามารถตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ให้แก่ ผู้อุทธรณ์ได้ การเปิดเผยจึงไม่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้แจ้งการครอบครองและทำประโยชน์ใน ที่ดินดังกล่าว แต่จะแสดงถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ จึงมีมติให้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอให้ผู้อุทธรณ์ทราบได้

        เรื่องนี้ แม้จะมีกฎ ระเบียบอื่น ๆ ในการขอสำเนาเอกสาร แต่การพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ก็ต้องพิจารณาตามหลักการของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยครับ มีข้อสงสัยการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ www.oic.go.th

(ที่ สค ๔๓๒/๒๕๖๓) นายวรรธนพงศ์ คำดี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

“เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar