รำมังคละ

รำมังคละจังหวัดพิษณุโลกมีที่มาจากการแสดงพื้นบ้าน เป็นการร่ายรำกับเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า กลองมังคละ ซึ่งใช้ประสมวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น รำมังคละมีพัฒนาการที่แบ่งได้ 3 ช่วง คือ

1. รำมังคละแบบดั้งเดิม เป็นการรำของชาวบ้านตามจังหวะของดนตรีมังคละเท่านั้น ท่ารำไม่มีแบบแผน
ที่ตายตัว เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก

2. รำมังคละแบบปรับเปลี่ยน มีอาจารย์ประจำภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูพิบูลสงครามพิษณุโลก (มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม) ได้ปรับเปลี่ยนรำมังคละ
จากรูปแบบของชาวบ้านมาประดิษฐ์ท่ารำใหม่โดยใช้ลีลาทางด้านนาฏศิลป์ไทยให้เกิดความสวยงามและ
มีแบบแผนในทางนาฏศิลป์ไทยมาประกอบดนตรีมังคละขึ้น และได้มีการถ่ายทอดท่ารำมังคละให้กับ มหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก

3. รำมังคละในปัจจุบัน เป็นการรำเพื่อการประกวดมีการประดิษฐ์ท่ารำใหม่ ผสมผสานดนตรีสากลกับวงมังคละ ทำให้รำมังคละของจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบันเป็นที่รู้จักมากขึ้นจนกลายเป็นการแสดงประจำจังหวัด และยังมีบทบาทหน้าที่ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรมแก่จังหวัดพิษณุโลกต่อไป   

#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก
#PRD4


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar